มหาวิทยาลัยทักษิณ เข้าร่วมการแสดงศิลปวัฒนธรรม และพิธีส่งมอบธง เทา-งาม สัมพันธ์ ครั้งที่ 27

   14 ธ.ค. 67  /   116

วันเสาร์ ที่ 14 ธันวาคม 2567 มหาวิทยาลัยทักษิณ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรยา สิทธิสาร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพันธกิจสัมพันธ์ อาจารย์ ดร.ศิริชัย กุมารจันทร์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิตและพันธกิจสัมพันธ์ นายคำรบ คชภักดี หัวหน้าฝ่ายกิจการนิสิต พร้อมด้วยอาจารย์ บุคลากรฝ่ายกิจการนิสิต และนิสิตมหาวิทยาลัยทักษิณ เข้าร่วมการแสดงศิลปวัฒนธรรมและพิธีส่งมอบธงเทา-งาม สัมพันธ์ ครั้งที่ 27 "ม่วนงันสันเล้า หมู่เฮาอาสา" ซึ่งมหาวิทยาลัยพะเยาเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ณ ลานอเนกประสงค์เทศบาลมืองพะเยา อ.เมืองพะเยา จ.พะเยา

โดยภายในกิจกรรม ดร.วุฒิชัย ไชยรินคำ รองอธิการบดีฝ่ายคุณภาพนิสิต มหาวิทยาลัยพะเยา ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดการแสดงศิลปวัฒนธรรม พร้อมมอบของที่ระลึก แก่สถาบันเครือข่ายเทา-งาม สัมพันธ์

ต่อจากนั้นเป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรม “ฟ้อนม่วนงันสันเล้า เทา-งาม สัมพันธ์" โดยตัวแทนสถาบันเครือข่าย เทา-งาม 6 สถาบัน การแสดงแบบแฟชั่น 6 สถาบัน เทา-งาม สัมพันธ์ การแสดงศิลปวัฒนธรรม 6 สถาบันเทา-งาม และปิดท้ายด้วยพิธีส่งมอบธงเทา-งาม สัมพันธ์ ให้แก่มหาวิทยาลัยบูรพา สถาบันเจ้าภาพ เทา-งาม สัมพันธ์ ครั้งที่ 28 ต่อไป

สำหรับมหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ร่วมเดินขบวนวัฒนธรรม ในชื่อขบวน “วิถี คนเลสาบ" นำเสนอวิถีชีวิตและทรัพยากรความเชื่อ ถ่ายทอดเรื่องราวทะเลสาบสงขลา ที่มีอาณาบริเวณคาบเกี่ยวพื้นที่ 3 จังหวัดของภาคใต้คือ สงขลา พัทลุง และ นครศรีธรรมราช มีระบบนิเวศที่หลาหลาย และรุ่มรวยด้วยทรัพยากร ตลอดจนมีการดำรงชีวิตแบบเรียบง่าย ขบวน “วีถี คนเลสาบ” แสดงให้เห็นถึงวิถีการใช้ชีวิตของชาวใต้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณลุ่มทะเลสาบ ที่อุดมไป ด้วยทรัพยากร และสถานที่ทางธรรมชาติที่หลากหลาย และอัตลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความวิถีแห่งชาวเล ได้แก่ นางเงือก ปลากดขี้ลิง (สายพันธ์ปลาที่พบมากที่สุดในสงขลา) เกาะหนู เกาะแมว ควายน้ำ การประกอบอาชีพ ประมง การยกยอ ด้วยวิถีชีวิตที่เรียบง่ายนี้เอง ทำให้พื้นที่รอบลุ่มทะเลสอบบริเวณนี้กลายเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวเพื่อชมบรรยากาศ ยกระดับพื้นที่และเศรษฐกิจโดยรอบได้เป็นอย่างดี

นอกจากนี้ ยังร่วมเดินแฟชั่นโชว์ ชื่อชุดแฟชั่น“คนเลสาบ" ผู้เดินแฟชั่น 1. นายพงศกร หวัดเพ็ชร์ 2.นางสาวปาริชาติ อาจษาสิงห์ นำเสนอเรื่องราวของน้ำมีความผูกพันกับชีวิตของคนเราตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เฉกเช่นเดียวกับพวกเราชาวใต้ที่อาศัยอยู่ ในพื้นที่ที่ห้อมล้อมไปด้วยน้ำ ทั้งน้ำตก น้ำทะเล และทะเลสาบ ก่อเกิดเป็นวิถีชุมชนที่เรียบง่ายแต่แฝงไปด้วย พลัง และพร้อมขยับและดำเนินชีวิตไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ยังคงไว้ซึ่งความเป็นดั้งเดิม จึงเกิดการ ผสมผสานวิถีแบบดั้งเดิมและวิถีใหม่ได้อย่างลงตัว

และนำเสนอการแสดงชุด “ปลากดขี้ลิง”การสร้างสรรค์นาฏศิลป์ร่วมสมัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน จังหวัดสงขลา

 




Icon 1
Icon 2